วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต เริ่มต้นการใช้งาน Blogger





 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ความหมายของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet)  คือ \เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุก  เครื่อง ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)

ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต





                อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = AdvancedResearchProjectsAgencyNetwork) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense-DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา  ค.ศ.1969(พ.ศ.2512)อาร์ป้าเน็ตได้รับท  ุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET=DefenseAdvanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (DefenseCommunicationsAgency-ปัจจุบันคือ DefenseInformationsSystems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC(InternetSดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้น               ค.ศ.1983(พ.ศ.2526)ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC(โมเสค)โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกัน
                  ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงาน
                 ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด
                ค.ศ.1991(พ.ศ.2534)
                                                                
                                                อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย




อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อดีตถึงปัจจุบัน    ปี พ.ศ.2529อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต  จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย


          - โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud
          - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC
          - สายโทรศัพท์ทองแดง


        โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไปนับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet

 ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25
นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง
ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ" หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535

การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต


    ข้อมูลและบริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากมายและหลายหลากประเภท ทำให้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับงานในด้านต่างๆ มากมาย จึงขอยก ตัวอย่างการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตพอสังเขป ดังนี้
ด้านการศึกษา อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปค้นหาและดึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายและรวดเร็ว มีแหล่งข้อมูลความรู้จำนวนมหาศาลที่มีกระจายอยู่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และอื่นๆ ทำให้นักเรียน ครูอาจารย์ รวมถึงผู้ที่สนใจสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า หรือการทำงานได้  ในส่วนระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้อินเทอร์เน็ต ก็ทำให้ผู้เรียนหรือผู้สอนที่อยู่ห่างไกลกัน ไม่จำเป็นต้องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสถานที่เดียวกัน ผู้สอนและผู้เรียน สามารถอยู่คนละสถานที่ ก็ยังสามารถทำการเรียนการสอนได้  เช่น  การเรียนการสอนผ่านเวบ หรือ E-Learning เป็นอีกหนึ่งกระแสของการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตที่กำลังมาแรงในปัจจุบันนี้, ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) ก็เป็นอีกบริการหนึ่งที่ได้รับความสำคัญมากในปัจจุบัน โดยได้มีการพัฒนาเนื้อหาความรู้สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา มีเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ มากมายสำหรับนักเรียนและอาจารย์ใช้ในการเรียนการสอน

     ปัจจุบันมีการให้บริการ โฆษณาสินค้าบริการและการซื้อขายสินค้าบริการต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือที่รู้จักกันดีในชื่อว่า E-Commerce ซึ่งระบบนี้ผู้ซื้อสามารถเลือกดูสินค้า ตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ แล้วทำการสั่งซื้อ พร้อมทั้งชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยหักจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิตได้ทันที นอกจากนี้ บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ก็สามารถเปิดให้บริการแก่ลูกค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การตอบคำถาม ให้คำแนะนำ และประกาศข่าวสารใหม่ๆ หรือกรณีที่เป็นสินค้าเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ ก็อาจแจกจ่ายโปรแกรมให้ทดลองใช้ หรือให้ดาวน์โหลดโปรแกรมแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ (patch) แม้กระทั่งซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ๆ ได้โดยตรงอีกด้วย
      ธนาคารบนอินเทอร์เน็ต (Internet Banking) หมายถึง ธนาคารที่ให้บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในบางธนาคารก็มีบริการที่มีชื่อคล้ายคลึงกันแต่ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย นั่นคือ ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Banking หรือ E-Banking ซึ่งหมายถึงธนาคารที่ให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยสื่อที่นิยมใช้ได้แก่อินเทอร์เน็ต จะเห็นได้ว่าบริการทั้งสองรูปแบบต่างก็มีการให้บริการต่างๆ ของธนาคารที่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบยอดบัญชี การโอนเงิน การสั่งชำระค่าสินค้าและบริการ เป็นต้น
                                                                   

                                        ประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ต




    ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้ข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลก่อให้เกิดประโยชน์มากมายได้แก่

ประโญชน์ของอินเตอร์เน็ต
1. ด้านการติดต่อสื่อสาร เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการพูดคุยด้วยการส่งสัญญาณภาพและเสียง
2. เป็นระบบสื่อสารพื้นที่จำลอง (Cyberspace) ไม่มีข้อจำกัดทางศาสนา เชื้อชาติ ระบบการปกครอง กฎหมาย
3. มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต- สามารถค้นหาข้อมูลในด้านต่างๆ ได้ผ่านบริการ World Wide Web
4. การบริการทางธุรกิจ เช่น สั่งซื้อสินค้า หรือการโฆษณาสินค้าต่างๆ-
5. การบริการด้านการบันเทิงต่างๆ เช่น การดูภาพยนตร์ใหม่ๆ การฟังเพลง ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การเกมออนไลน์ เป็นต้นโทษของอินเตอร์เน็ต

โทษของอินเตอร์เน็ต 
    มีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฏหมาย,ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ
1. อินเตอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก - มีข้อมูลที่มีผลเสียเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
2. ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
3. เติบโตเร็วเกินไป
4. ข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวง
5. กลั่นแกล้งจากเพื่อนใหม่
6. ถ้าเล่นอินเตอร์เน็ตมากเกินไปอาจเสียการเรียนได้ -
7. ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเด็กๆ
8. ขณะที่ใช้อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้

บัญญัติ 10 ของการใช้อินเตอร์เน็ต

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำของท่าน10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฏระเบียบ กติกา และมีมารยาท

 
                จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบ ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้อง
ปลูกฝังกฏเกณฑ์ของแต่ละเครือข่าย จะต้องมีการวางระเบียบ เพื่อให้การดำเนินงาน เป็นไปอย่างมีระบบ และเอื้อ
ประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน เช่น การปฏิบัติผิดกฏเกณฑ์ของเครือข่าย จะต้องตัดสิทธิ์การเป็นผู้ใช้ของเครือข่าย ในอนาคตจะมี การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก จรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมอินเทอร์เน็ต สงบสุข หากมีการละเมิดอย่างรุนแรง กฎหมายจะเข้ามามีบทบาทต่อไป
โครงการการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย

หน่วยงานที่มีบทบาทในอินเตอร์เน็ตของประเทศไทย

ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
  • การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
  • ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
  • ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
  • THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
  • NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
  • ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย , บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)และบริษัทเอกชนอื่นๆ

แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปข้อมูลที่สามารถอธิบายความแพร่หลายของอินเตอร์เน็ตในไทย  ดังนี้

       ความแพร่หลายของการใช้อินเตอร์เน็ตของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอย่างสหรัฐและอังกฤษ ที่มีอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตราว 55% ของประชากรทั้งประเทศ เทียบกับแถบเอเชียด้วยกันอย่างเกาหลีใต้ อัตราการใช้สูงถึง 60% ของจำนวนประชากร และมาเลเซีย 34.41% ของจำนวนประชากรมีการกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองมาก จากการเปรียบเทียบอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากรกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ยังพบการกระจุกตัวในกรุงเทพฯ
ปริมาณการไหลเวียนของข้อมูลสูงขึ้นและความเร็ว(bandwidth) ในการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้น มีการเติบโตถึง 60-90% ต่อปีกลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อายุ 15-24 ปี หรือ 52% ของจำนวนผู้ใช้รวมทั้งประเทศ
การใช้อินเตอร์เน็ตในสถานประกอบการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น



     



              













                                         






                          

















            
 


     
      


               

        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น