วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทที่ 5 เครื่อข่ายใยแมลงมุม (world Wide Web)

   เครื่อข่ายใยแมลงมุม
เวิลด์ ไวด์ เว็บ  เป็นบริการหนึ่งที่อยู่บนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาของเครือข่ายใยแมงมุม ได้ดำเนินไปอย่างรวดเร็วและก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านมัลติมีเดียทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทวีความมหัศจรรย์ให้กับการศึกษาในโลกไร้พรมแดน และกลายเป็นแหล่งทรัพยากรของกระบวนการเรียนการสอนที่สนองต่อกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง
       เมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้มีผู้สนใจใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่มากนัก เนื่องจากการใช้บริการ อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข่าวสารข้อมูล การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การสำเนา แฟ้มข้อมูล ฯลฯ จะอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร(Text Mode)เท่านั้น ไม่มีการแสดงที่เป็นรูปภาพ เสียง ภาพยนตร์ และไม่มีอักษรแบบต่าง ๆ ปรากฎให้เห็นแตอย่างใด นอกจากนี้ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้การใช้คำสั่งคอมพิวเตอร์มากมาย เช่น ต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ (UNIX) เนื่องจากเมื่อจะมีการเรียกใช้งานอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ดังนั้นผู้ใช้จึงต้องเรียนรู้คำสั่งเบื้องต้นของยูนิกซ์ เพื่อทำการป้อนคำสั่งที่เป็นตัวอักษรด้วยตัวเอง
        จนกระทั่งมีบริการที่เรียกว่า World Wide Web (WWW) หรือ เครือข่ายใยแมงมุมเกิดขึ้นทำให้
ความนิยมการใช้อินเทอร์เน็ตสูงขึ้น เนื่องจาก WWW เป็นบริการหนึ่งที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ที่ใช้งานได้ง่าย สะดวก
ผู้ใช้ไม่ต้องจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไป การอ่านและค้นหาข้อมูลสามารถกระทำได้เพียงแต่กดปุ่มเมาส์เพียงอย่างเดียว
เท่านั้น




หมายเลขของเครื่อง(IP Address)

การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครื่อยข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งอยู่ภายไต้มาตฐาน TCP/IP เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขประจำตัว เพื่อจะได้สามรถอ้างอิงในการเลือกใช้งาน
    IP Address คือหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อในระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต การกำหนดหมายเลข IP Address  ประกอบด้วยฐานจำนวน 4 ชุด ๆ ละ 8 บิด จะรวมเป็นค่าตัวเลข 32 บิต
ค่าของตัวเลขตั้งแต่ละส่วนมีค่าเป็น 0 ถึง 255 

โมเดนเมน (Domain Name) 
              คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่ท่านสามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือ ประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น เช่น www.gict.co.th เมื่อผู้ใช้กรอกชื่อลงไปในช่อง Address ของ Internet Explorer ก็จะส่งชื่อไปร้องถามจากเครื่องแปลชื่อ โดเมน (Domain Name Server) และได้รับกลับมาเป็นไอพีแอดเดรส (Internet Protocol) แล้วส่งคำร้องไปให้กับเครื่องปลายทางตามไอพีแอดเดรส และได้ข้อมูลกลับมาตามรูปแบบที่ร้องขอไป


Sub Domain  ( ซับโดเมน ) 
                 Sub Domain ( ซับโดเมน ) คือ เว็บย่อยของเว็บไซต์ของเราอีกที โดยปกติถ้ามี Domain (โดเมน) ชื่อ www.gict.co.th เราจะเข้าชมเว็บไซต์ของเราโดยพิมพ์ www.gict.co.th แต่หากเราต้องเข้าชมเว็บย่อยของเราจะต้องพิมพ์ http://domain.gict.co.th มีประโยชน์สำหรับท่านที่มีธุรกิจหลายประเภท เป็นการจำแนกแยกแยะหมวดหมู่ธุรกิจ

ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน

1.ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
2.Domain ต้องจดในชื่อของคุณเท่านั้น Domain Ownership
3.ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
4.ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
5.ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับคุณตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับคุณ เรียกว่า Registrant E-mail
6.บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของคุณไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่น ๆ

อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม

 ชื่อ Domain สามารถใช้ ตัวอักษรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) ได้
ชื่อ Domain โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข
ชื่อ Domain มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
ชื่อ Domain ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน
ชื่อ Domain ต้องไม่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยเครื่องหมาย - และต้องไม่มี Space

หลัการตั้งชื่อโดเมน ภาษาไทย

  1. ชื่อ Domain จะต้องไม่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ พระบรมวงศานุวงศ์ และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกัพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์
  2. ชื่อ Domain จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือองค์กรหนึ่งองค์กรใด
  3. ชื่อ Domain จะต้องไม่เป็นชื่อต่าง ๆ ของประเทศไทย จังหวัด รวมถึงสถานที่อันเป็นสาธารณะต่าง ๆ ในประเทศ
  4. ชื่อ Domain จะต้องไม่ประกอบด้วยคำหยาบหรือคำที่ผิดต่อศีลธรรมอันดีงามของไทย
  5. ชื่อ Domain จะต้องมีความสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดกับชื่อโดเมนภาษาอังกฤษที่อ้างอิงดังนี้
แม้ว่าปัจจุบันจะมีโดเมนถูกนำเสนอออกมาหลายประเภท หลายชนิดก็ตาม แต่ .com .net และ .org ก็ยังถือว่าเป็นโดเมนมาตราฐานสากล ที่ได้รับความนิยมและยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก


รหัสสืบค้นแหล่งข้อมูล
  
   การท่องเที่ยวในระบบอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีเมนูหรือตำแหน่งของการเชื่อมโยง ไปยังเว็บไชต์ต่างๆ ได้อีกมากมาย ซึ่งอาจเป็นเว็บไชต์ที่เป็นส่วนย่อยของเว็บไชต์นี้ หรือเป็นเว็บที่ถูกจัดเก็บไว้ในกลุมข้อมูลต่างๆ เมี่อคลิกเข้าไปแล้วบางครั้งเสมีอนกับเราได้เปิดประตูเข้าไปข้างในทีละชั้นจนพบกับข้อมูลที่เราต้องการ

การเชื่อมโยงข้อมูล (Link)

    เว็บเพจแต่ละหน้าใน word wide wed จะสามารถเชื่อมโยงกันได้ ทำให้เราสามารถที่จะเรียกดูเว็บเพจอี่นได้จากการคลิกเมาส์เพื่อกระโดดไปย้งข้อมูลที่ต้องการใด้ เราสามารถสร้างเชื่อมโยงผ่านทางข้อความ รูปภาพ หรือปุมเมนู
การเชื่อมโยงข้อมูล
   1.การเชื่อมโยงข้อมูลภายในหน้าเว็บเพจเดียวกัน
   2.การเชื่อมโยงข้อมูลไปย้งเว็บเพจหน้าอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายในเว็บไชต์เดียวกัน

   3.การเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเว็บไชต์อื่นๆ

  






  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น