วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทที่ 8 การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต

        บทที่ 8 การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต

            1.  เว็บไซต์ (Website)   หมายถึง  ที่ตั้งเครือข่ายข้อมูลที่เชื่อมโยงติดต่อกันได้ทั่วทุกมุมโลกโดยการหาข้อมูลในแต่ละเว็บไซต์จะต้องทราบชื่อเว็บไซต์ที่เราต้องการหาข้อมูลนั้น ๆ หรือสามารถค้นหา
            เว็บไซต์ที่เราต้องการค้นคว้าผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดบริการให้ค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้ที่ www.google.com  www.yahoo.com  www.sanook.com  เป็นต้น
  
            1.1  การค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ตามคำหลัก  จะต้องอาศัยการประมวลข้อมูลที่ต้องการค้นหาออกมาเป็นคำหลัก  (keyword)  ให้ได้ก่อน
           1.2  การสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ตามหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งหมวดหมู่ไว้อย่างชัดเจนทำให้สะดวกมากขึ้น  โดยการจัดหมวดหมู่ของแต่ละเว็บไซต์จะแตกต่างกัน
            
         2.  ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ห้องสมุดประเภทนี้จะแตกต่างจากห้องสมุดทั่วไปเพราะสามารถใช้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลสะดวก  รวดเร็ว  โดยสามารถค้นคว้าได้จากชื่อเรื่อง  หัวเรื่อง ชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง  เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (ISBN)  เลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (ISSN)  สำนักพิมพ์  ปีที่พิมพ์  เป็นต้น  ซึ่งการค้นคว้าในห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์สามารถระบุข้อมูลหรือเงื่อนไขเฉพาะได้ชัดเจน  เช่น  ต้องการทราบผลงานของสุนทรภู่  เฉพาะเกี่ยวกับนิราศก็สามารถระบุเงื่อนไขที่เกี่ยวกับชื่อผู้แต่ง  คือ  สุนทรภู่  และระบุหัวข้อเรื่อง  คือ  นิราศ  ระบบสามารถประมวลผลงานของสุนทรภู่เฉพาะเรื่องที่เป็นนิราศเท่านั้น

         3.  ฐานข้อมูลออนไลน์  ฐานข้อมูล  คือ  แหล่งจัดเก็บข้อมูลหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง  หรือหมายหัวข้อที่รวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง  จำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมักมีมากมายนับหมื่น แสน หรือล้านรายการ
          ออนไลน์ (online)  เป็นคำทับศัพท์  หมายถึง  การเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์ให้ได้ตรงตามความต้องการ  อาจใช้เทคนิคง่าย ๆ เข้าช่วย  ดังนี้

          1.  ทำความเข้าใจความหมายของคำเชื่อมที่สำคัญ 3 คำ  คือ
                           ใช้เพื่อจำกัดขอบเขตของข้อมูลให้แคบลง
                            ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  และ  "เรื่องสั้น"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลของ ว.วินิจฉัยกุเฉพาะที่เกี่ยวกับ  เรื่องสั้นเท่านั้น  จะไม่ปรากฎเรื่องราวด้านอื่น ๆ เล "หรือ"ใช้เพื่อเพิ่มขอบเขตของข้อมูลให้กว้างขึ้น
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  หรือ  "ทมยันตี"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นข้อมูลที่เกี่ยวกับ  ว.วินิจฉัยกุล  และทมยันตี  ทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น "ไม่"ใช้เพื่อลดขอบเขตของข้อมูล
                              ตัวอย่าง  ระบุว่า  "ว.วินิจฉัยกุล"  ไม่  "ประวัติ"  ข้อมูลที่ได้จะเน้นเรื่องราวของ  ว.วินิจฉัยกุลทุกด้าน  จะไม่มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติชีวิตของ ว.วินิจฉัยกุล  เลย

                    2.  ใช้สัญลักษณ์  หากไม่ทราบวิธีสะกดคำที่ถูกต้อง
                              เครื่องหมายคำถาม ?                    ใช้แทนอักษร 1 ตัว
                              เครื่องหมายดอกจัน*                    ใช้แทนอักษรหลายตัว
                              ตัวอย่าง  ต้องการค้นเรื่องวิญญาณ  แต่ไม่แน่ใจหรือไม่ทราบว่าตัวสะกดเป็น ณ หรือ น ให้พิมพ์ "วิญญา?"ต้องการค้นเรื่อง  ปัญจวัคคีย์  แต่ไม่แน่ใจตัวการันต์ให้พิมพ์  ปัญจวัคคี*

                    3.  ฐานข้อมูลอีริก (ERIC database)  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษาให้ใช้คำว่า  NEAR  สำหรับการค้นที่รวมคำที่ใกล้เคียงกับคำที่ต้องการด้วย


  ประเถทของการค้นหาข้อมูล 
        
         ในโลกไซเบอร์สเปซมีข้อมูลมากมายมหาศาล การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลมีมากมายหลายที่ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ
        
ความหมาย/ประเภทของ Search Engine    
      
การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูลดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป

การทำงานของ  Search Engine   ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ
 Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน
 ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้าก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด
โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา แล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว การกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูล
ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการ
 



      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น